แจกฟรีเทคนิค ปลูกข่าเหลือง ออกเหง้าเยอะโตไวสร้างรายได้หลักแสนต่อไร่


ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้า” อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาอาชีพเสริมสร้างรายได้ ในช่วงโควิด เราขอแนะนำกับการทำเกษตรที่ไม่ต้องไปใกล้ผู้คน และการทำเกษตรในวันนี้เราขอเสนอกับการปลูกข่าเหลืองสร้างรายได้งาม บอกเลยว่า สร้างรายได้ หลักแสนบาทต่อเดือน วิธีนี้ปลูกง่าย โตไว จะรอช้าอยู่ทำไมว่าแล้วไปชมกันเลยค่ะ

วิธีปลูกข่าเหลือง

ข่าเหลืองชอบที่ดอน ดินร่วนซุยปนทรายอุดมสมบูรณ์และชุ่มชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง ฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกข่าเหลืองคือฤดูฝน

-ไถให้ลึกพอประมาณและพรวนดินตากแดดไว้ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นขุดหลุมให้ลึกประมาณ 30×30 ลึก 20 เชนติเมตร โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นและแถวประมาณ 70×70 เซนติเมตร

– เตรียมเหง้าพันธุ์ข่าเหลืองที่อายุแก่จัด โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว ที่มีข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ นำหัวพันธุ์ไปแช่น้ำยาม่และป้องกันเชื่อรา (แต่ระวังอย่าให้รากช้ำ)

– ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยเคมีรองกันหลุมด้วยปุ้ยสูตร 15-15-15 พร้อมปูนขาวประมาณ 1 ช้อนแกง แล้ววางเหง้าช่าเหลืองลงในหลุ่ม ๆ ละ 2 เหง้า กลบดินให้แน่พอประมาณหาเศษฟางมาคุมเพื่อรักษาความชื้นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

จนกระทั่งข่าเหลืองอายุได้ 7 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ แต่ช่วง 15 วัน – 1 เดือน ก่อนที่จะขุดข่าเหลืองส่งตลาด ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น

คำนวณต้นทุนของการปลูกข่าเหลือง

การปลูกข่าเหลือง ต้นทุนต่อไร่ ทั้งพันธุ์ข่า และค่าอื่นๆตอนเริ่มปลูก ตกปsะมาณ 20,000 บาท/ไร่ ในตอนเริ่มต้น ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี สภาพดินดี ต้องวางแผนค่าแรงสำหรับท่านที่ปลูกมาก รวมถึงช่วงนำผลผลิตออกจำหน่ายด้วย ก็จะช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้น

ช่าเหลือง ตลาดใหญ่ของข่าเหลืองอยู่แถวภาคอีสานของไทย สำหรับผลตอบแทนต่อไร่นั้น ปัจจุบัน ราวๆ 100,000 บาท ขึ้นไป และยิ่งสามารถปลูกผสมเข้าไปกับสวนพืชอื่นๆแล้ว ก็อาจจะช่วยเพิ่มรายได้เข้ามา หรือปลูกเป็นพืชสวนผสมก็ทำให้มีรายได้หมุนเวียนมั่นคงมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูล : กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ by Rakkaset Nungruethail (คุณหนึ่ง) บรรณาธิการ หนังสือรักษ์เกษตร)