แชร์วิธีปลูกมะม่วงในแข่ง ดูแลง่ายโตไวออกดอกติดผลเร็ว


มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ เป็นพืชกินผลที่ได้รับความนิยมมาก

วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปชมไอเดียในการปลูกมะม่วงแนวใหม่ ซึ่งบอกเลยว่าทำง่าย และไม่เหมือนใคร แถมได้ประสิทธิภาพดีกว่าการปลูกลงดินแบบเดิมๆ นั้นก็คือ การปลูกมะม่วงในแข่งพลาสติก จะรอช้าอยู่ทำไมว่าแล้วก็ไปชมวิธีทำกันเลยค่ะ

อาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ สังกัดภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้ทำการศึกษาวิจัย เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว จนขณะนี้ก็ยังได้ปลูกศึกษาเรื่อยมา และได้ข้อสรุปว่า ไม้ผลเมืองร้อนหลากหลายชนิดสามารถปลูกในภาชนะ หรือเป็นไม้ผลกระถาง หรือปลูกในเข่งได้

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน คนที่อาศัยอยู่ในเมือง เขามีพื้นที่จำกัด และที่ดินของเขาก็เป็นดินถมบางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะปลูกพืช ผมจึงได้ศึกษาวิจัยเรื่องการปลูกไม้ผลในภาชนะขึ้นมา ผลพบว่าสามารถปลูกได้ดี สามารถควบคุมดูแลได้ดีกว่า

โดยเฉพาะผู้ที่มีเวลาอยู่กับบ้าน และกรณีที่ปลูกเชิงการค้าก็สามารถทำได้ ผลผลิตอาจจะได้ไม่มากเท่าปลูกลงดิน แต่เราสามารถปลูกระยะชิดได้ เมื่อนำหลายๆ ต้นมารวมกันก็เฉลี่ยพอๆ กันครับ อาจารย์รัฐพล กล่าว และบอกว่าข้อดี ข้อด้อย จะมีดังนี้

ข้อดีของการปลูกในเข่ง

– ปลูกได้ในพื้นที่จำกัด

– สามารถปลูกได้กับผลไม้หลากหลายชนิด

– ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพดินที่ใช้ปลูก

– ดูแลรักษาด้านโรค แมลง วัชพืช และการห่อผลง่าย

– สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย

– ควบคุมปริมาณน้ำและธาตุอาหารได้สะดวก

– เจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลูกลงดิน เพราะดินปลูกมีความร่วนซุย และ โปร่ง

– ขนาดทรงพุ่มเล็กทำให้ดูแลได้สะดวก

การใช้วัสดุคลุมดินในการปลูกไม้ผลในภาชนะ

ประโยชน์ของวัสดุคลุมดิน

– ประหยัดน้ำ และประหยัดแรงงานในการให้น้ำ ปกติการปลูกไม้ผลในภาชนะต้องรดน้ำวันเว้นวัน ถ้าหาก ใช้วัสดุคลุมหน้าดิน 4 วันรดน้ำ 1 ครั้ง เนื่องจากการระเหยของน้ำจากแสงแดด

– ป้องกันวัชพืช และประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช วัชพืชไม่ได้รับแสงจึงไม่สามารถงอกได้

– เพิ่มธาตุอาหาร และประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ย เมื่อวัสดุคลุมหน้าดินโดนน้ำมีความชื้น จะทำให้การย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้เร็ว

– ไม่เกิดมลภาวะในการเผาทำลาย


วัสดุคลุมดิน

ได้แก่ ฟางข้าวแห้ง หญ้าแห้ง ชังข้าวโพดแห้ง กิ่งไม้บดแห้ง แกลบ (เปลือกข้าว) ผักตบชวาแห้ง เศษผัก เศษอาหาร พืชตะกุลถั่ว มูลวัว กากแอปเปิ้ล ฟางข้าวสาลี กระดาษ ขี้เลื่อย กาแฟบด เปลือกไม้ ขยะผลไม้ มูลสัตว์ปีกสด มูลม้า หนังสือพิมพ์ ใบสน มูลที่เน่าเปื่อย ใบไม้แห้ง(ใบจามจุรี หรือใบก้ามปู ดีที่สุด มีไนโตรเจน 3.25 เปอร์เซ็นต์)

ข้อด้อยของการปลูกในเข่ง

– ให้ผลผลิตต่อต้uน้อย (ถ้าใช้ภานะปลูกเล็ก)

– ต้องมีการเปลี่ยนวัสดุปลูกเป็นระยะๆ

– ต้องให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ

– ไม้ผลบางชนิดไม่เหมาะที่จะนำมาปลูก เช่น กล้วย ขนุน ทุเรียน มะพร้าว ขนุน เป็น

– มีการลงทุนค่อนข้างสูงในระยะแรก

เรียบเรียงเนื้อหาโดย : sharesod.com, ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก : pagenews.net/?p=7643