หนุ่มเผยประสบการณ์ เริ่มต้นจากศูนย์ ปิดยอดซื้อบ้านหลังแรก ภายในเวลา 1 ปี 7 เดือน


วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องราวของผู้ใช้เฟซบุ๊ก Chaitawat Meedach ที่ได้ออกมาเผยวิธีการผ่อนบ้านอย่างฉลาด สามารถปิดยอดมีบ้านเป็นของตัวเองได้ ในเวลาเพิ่งแค่ 1 ปี 7 เดือนเท่านั้u ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากมาก ๆ หากไม่มีวินัยขอการใช้เงินในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านนี้เล่าว่า…

วันนี้เอาเงิน 1,000,000 บาท มาปิดบ้านหลังแรกในชีวิต หยุดสถิติผ่อนไว้ที่ 1 ปี 7 เดือน จากสัญญากู้ 30 ปี ในอายุ 25 ปี 10 เดือน ทำด้วยตัวเองกับแฟน 1oo% เริ่มต้นจากศูนย์จริง ๆ ( จำได้ว่าหลังจากจบ ป.ตรีของที่มีค่ามากที่สุด คือรถดรีม 125 ที่พ่อให้มาใช้ตอนเรียน และผมขับคันนี้เเหละไปซื้อบ้าน ) นี่คือความภูมิใจสูงสุด อสังหาฯ หลังแรกในชีวิต บทความนี้จะประกอบไปด้วย

  • การกู้ด้วยบูโรขๅวที่ลำบากมาก ๆ
  • เทคนิคการโปะบ้านในแบบฉบับของเราเอง
  • วิธีแก้ปัญหาสภาพคล่อง
  • ข้อสรุป กู้ หรือ รอซื้อสดดี ?? ** อ่านสนุก **

1. การกู้บ้านด้วยบูโรขๅวที่ลำบากมาก ๆ ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วผมได้ทำเรื่องกู้กับธนาคารแห่งหนึ่ง นายธนาคารได้แจ้งว่า ผมมีโอกาสสูงมากที่จะกู้ไม่ผ่าน”เพราะน้องไม่เคยกู้อะไรเลย ไม่มีประวัติการชำระอะไรเลย พูดกันตรง ๆ น้องจะกู้บ้านเป็นอะไรที่ใหญ่มาก คนทั่วไปเขาต้องผ่อนรถก่อน แล้วจะดูประวัติการผ่อนจากรถ บวกกับน้องทำงานอิสระด้วย ขนาดบัตรเครดิตน้องยังไม่มีเลย

พี่ว่าไม่ผ่านแน่นอน “ด้วยความโชคดีที่พ่อทำงานรัฐวิสาหกิจ ได้เงินเดือน ที่แน่นอนมาร่วมกู้จึงผ่านไปได้มันทำให้ผมรู้เลยว่า คำว่า เครดิตของแต่ละคนสำคัญมากแค่ไหน ในวันนั้นผมคิดในหัวเลยครับ ถ้ากู้ผ่านนะ กูจะอัดบ้านให้หนัก ๆ และจบให้เร็ว ๆ เพื่อให้ได้ประวัติการชำระที่ดี ๆ ให้ได้เลยตั้งเป้ากับแฟน ว่าเราจะผ่อนหนักในปีที่ 2 และจะจบให้ได้ภายใน 3-5 ปี และเราก็ทำสำเร็จในวันนี้

2. เทคนิคการผ่อนบ้านในแบบของเรา ต้องบอกก่อนว่าเรากู้ 2 ล้าน (ราคาขๅย 2.2 + รีโนเวท 1.1 รวม 3.3 ล้านบาท) อันดับแรกเรามานั่งดูดอกเบี้ย แล้วดูว่าเงินที่เรามีควรไปอยู่ตรงไหนถึงจะคุ้มค่าที่สุด เช่น ธนาคารที่ผมกู้ มีดอกเบี้ยดังนี้ ปีแรก คงที่ 0.9 % ปี 2-3 Mrr – 3.25 ประมาณ 2.97 % จะเห็นว่าดอกเบี้ยในปีแรกถูกกว่าเงินฝาก 1.5% ของอีกธนาคารที่ผมฝากไว้อีก

ดังนั้น 12 เดือนแรกผมไม่โปะก่อน เก็บเงินสด 300,000 บาท เอาไว้ (บางคนอาจแย้งว่า 0.9 % ของ 2 ล้าน เยอะกว่าเงิน 1.5 % ของ 3 แสน ซึ่งเราเทียบแบบนั้นไม่ได้ครับ เราต้องมองว่า 3 แสนที่เรามีไปอยู่ตรงไหนสร้างประโยชน์ต่อเรามากที่สุด)

ในปีที่ 2 ผมเริ่มโปะบ้านหนักขึ้นมาก มีเท่าไรใส่ให้หมด เพราะผมมองว่าเงินที่ผมมีควรไปอยู่ในรูปบ้านเพราะดอกมันสูงกว่าเงินฝากเราแล้ว (การทำแบบนี้จะทำให้ผม กับ แฟนขาดสภาพคล่อง) เพื่อสร้างประวัติในการชำระหนี้ ในปีที่ 2 เกิดโควิด-19 พอดี

ทางธนาคารกรุงไทยออกมาช่วยหยุดพักชำระ และลดดอกเหลือ 0.5% เป็นเวลา 3 เดือน (เมษา-กรกฎา) ครบเดือนนี้พอดี ผมเลยเลือกมาปิดในวันนี้

3.วิธีแก้ปัญหาสภาพคล่อง ฝึกจนให้ชิน ผมเป็นคนประหยัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และผมก็ดีใจที่ผมเป็นแบบนั้น ขับแต่รถมอเตอร์ไซค์ไปทำงาน ไม่คิดจะซื้อรถยนต์ในช่วงนี้เลย แต่ผมไม่ได้หมายถึงวิธีผมดีที่สุดนะครับ ด้วยการงานผม มันไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์เลย หากใครจำเป็นต้องใช้ก็ควรซื้อเพื่อเงินที่งอกเงยครับ

ภายนอกเราดูจนไปเลยทั้งผมและแฟน แต่เรารู้ว่าเปลือกนอกมันยังไม่ค่อยจำเป็น เป้าหมายเราใหญ่กว่านั้นมาก บางวันผมกินข้าว มานั่งดูว่า 1 วัน ผมใช้กี่บาท เฉลี่ยก็คง 150-200 บาท พยายามใช้ให้ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำให้ได้

4. ข้อสรุป กู้ หรือ รอซื้อสดดี ?? ผมขอสรุปแบบนี้เลยครับว่า กู้ดีกว่าแน่นอนครับ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1)ธนาคารวิเคราะห์ทุกอย่างแทนเรา เช่น บ้านนั้นเป็นที่ที่มีปัญหาอะไรหรือไม่ (อาจมีการครอบครองปรปักษ์ ) ราคาประเมินเท่าไร เรามีความสามารถผ่อนขนาดไหน ลองหลับตานึกภาพดี ๆ มีคนมาช่วยเราวิเคราะห์แทนเราเต็มไปหมดเลย

2)เราโยนความเสี่ยงไปให้ธนาคาร 1oo% ลองนึกภาพนะครับ หากเราผ่อนไม่ไหว หนักที่สุดคือเราแค่เสียเครดิต คนที่แย่จริง ๆ คือธนาคารว่าจะเอาไปปล่อยต่อยังไงดี

3)ดอกเบี้ยถูกที่สุด เมื่อเทียบกับการลุงทุนแบบอื่น อสังหาฯ เป็นการลงทุนเดียวที่ธนาคารปล่อยกู้ ต่างจากหุ้นที่ใช้เงินเรา 1oo% บวกกับความเสี่ยงอยู่ที่เรา อีกอย่างเชื่อหรือไม่ว่าราคาอสังหาฯ มันขึ้นมากกว่าดอกเบี้ยจากธนาคารอีก ขอยืมคำพูดจากคุณ KIM Property”แต่คุณจะไม่รู้สึกรวยหรอก จนกว่าคุณจะขๅยมันไป”

4)หยุดราคาที่มันจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ลองคิดดีดี 2 ล้านตอนนี้ กับอีก 10 ปี อันไหนมีมูลค่ามากกว่ากัน หากเรากู้ 30 ปี ในอีก 30 ปีสรุปหนี้ของคุณก็คือ 2 ล้าน

และผมมั่นใจมาก ๆ ว่า 2 ล้านในอนาคต จะเล็กลงมาก ๆ จากอัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลทั่วโลก เมื่อเวลารัฐเป็นหนี้กัน เพราะนี่เป็นเครื่องมือที่ทำให้หนี้รัฐบาลลดลงเร็วมากเมื่อเงินมันเฟ้อ แล้วทำไมเราไม่เกาะประโยชน์จากตรงนี้ละครับ

แหล่งที่มา: siamstreet

เรียบเรียงโดย ยิ้มสยาม

Leave a Reply

Your email address will not be published.