ลูกชายเป็นฤาษี เลี้ยงดูแม่วัย 92 ปี พาถือศีล ปฏิบัติธรรม ปล่อยวางทุกอย่าง


เปิดเรื่องราวของลูกชายอายุ 55 ปี เป็นฤาษี เลี้ยงดูแม่วัย 92 พานอนโลง ถือศีล ปฏิบัติธรรม ให้ปลงชีวิต บอกไม่ยึดติด ทำใจสบาย ปล่อยวางทุกอย่าง

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 63 ที่บ้านเลขที่ 98 หมู่ 13 ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก พบนายจำลอง กำมะณี อายุ 55 ปี ส่วนมารดาชื่อ นางโหลย กำมะณี อายุ 92 ปี ปัจจุบันทั้งสองคนพักอาศัยอยู่ข้างบ้านที่มีสภาพผุพังหลายส่วน โดยการกางเต็นท์ผ้าใบแทนหลังคาเพื่อกันแดดกันฝน และมีรถยนต์เก๋งรุ่นเก่าจำนวน 2 คันที่จอดทิ้งไว้ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้แล้ว

โดยแต่ละคันจะมีการนำพระพุทธรูป รูปปั้นฤาษี และรูปปั้นต่าง ๆ ตลอดเครื่องรางของขลัง พระเครื่องมาติดตั้งแปะเอาไว้อยู่บนฝากระโปรงหน้าหลัง และหลังคารถ รวมทั้งภายในห้องโดยสารของรถด้วย โดยฤาษีจำลองและมารดาจะอาศัยนอนหลับพักผ่อนภายในโลงไม้ลักษณะเช่นเดียวกับโลงทั่วไป รวมทั้งยังใช้เป็นที่สำหรับนั่งทำสมาธิด้วย

ฤาษีจำลอง เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ตนประกอบอาชีพช่างตีเหล็กและช่างเครื่อง ชีวิตเจอแต่ความล้มเหลว ทำอะไรก็ถูกโกง เคยมีความครอบครัวแต่ไม่สมบูรณ์ จึงหันมาทางธรรม ได้มาบวชเป็นพราหมณ์ เป็นพระ เป็นโยคีชุดขๅวผมยาว และกลับมาบวชเป็นพระอีกครั้ง ก่อนสึกออกมาเป็นฤาษีทุกวันนี้

ทั้งนี้ เพราะมีภาระที่จะต้องดูมารดา เวลาทำอะไรจะไม่มีคนตำหนิ โดยสมาทานศีลแค่ 5 ข้อเท่านั้u ถ้าเป็นพระอาจจะทำผิดวินัยจิตจะเศร้าหมอง จึงต้องบวชเป็นฤาษีดูแลมารดามาตั้งแต่ปี 2534 ตนมีพี่น้องรวม 6 คน เสีຍชีวิตไปแล้ว 3 คน ตนเป็นคนเล็ก แต่ลูกคนอื่น ๆ ไม่ได้มาดูแลมารดาแบบตนไม่มี และไม่ได้ช่วยเหลืออะไร

ฤาษีจำลอง กล่าวว่า เวลาแม่ไม่สบายตนจึงไม่บอกใครจะดูแลเอง และไม่พาไปโรงพยาบาล เพราะไปก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก อาศัยฝึกให้มีสติ ถ้าไม่ไหวก็บอกให้ไป แต่ก็รอดมาทุกวันนี้ ส่วนรายได้จะได้รับจากบัตรสวัสดิการผู้สูงอายุของมารดา บางครั้งมีลูกศิษย์ที่นับถือนำเงินมอบให้มากบ้างน้อยบ้าง ตอนนี้ก็อยากให้มาช่วยเหลือเรื่องที่พักอาศัยกันแดดกันฝนเท่านั้u

ปัจจุบันจะเน้นเจริญสมาธิกรรมฐาน นั่ง และเดินเจริญความดับสิ้นเป็นอารมณ์ หายใจเข้าดับ หายใจออกดับ เจริญมรณสติ พอมีสิ่งอะไรเข้ามากระทบจะทัน มีสติ สมาธิ และมีปัญญาที่จะสามารถแยกแยะปล่อยวาง การนอนโลง ทำให้มีสติ รู้จักนั่ง ยืน รู้จักเดินมากระทบ ได้ปล่อยวางเยอะ

ในบรรดาฤาษีด้วยกันก็มีสอนให้คนหลงก็เยอะงมงายในวัตถุ ไม่สอนธรรมะแก่นแท้ ให้รู้ละ รู้ปล่อย รู้เข้าใจชีวิต ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร เหมือนพ่อหลวงให้พอเพียง ตอนนี้ตนพอแล้ว ถ้ามีใครบริจาคอะไรมา จะเอาไปเจือจุนคนที่ยากจนกว่าเราต่อไป

ฤาษีจำลอง กล่าวว่าอีกว่า สาเหตุที่นำพระพุทธรูป รูปปั้นต่าง ๆ ติดตั้งไว้ที่กระโปรงหน้าและกระโปรงหลังรถเพราะตนมีความศรัทธา ส่วนคนมองก็มีทั้งสองแง่

แต่บางคนก็ว่าเพราะเป็นความศรัทธาของเขา มีหลายคนมองว่าบ้า แต่ตนไม่เคยแคร์หรือเก็บเอามาคิด เรารู้ว่าทำอะไรอยู่รู้ในจิตของเรา ไม่ไหลไปตามกระแสลมปากของเขา คนยังอายไม่กล้าทำหรอก เราทำไม่ได้อวดใคร เราทำเพื่อใจรักไม่เดือดร้อนใคร

แต่ความเป็นอยู่ดูแลมารดายังลำบาก เพราะตอนฝนตก ปัญหาจากฝนสาด อยู่กับพื้นดินตลอดเวลา ไม่สามารถขึ้นไปพักที่บ้านหลังเก่าได้ เพราะมารดาอายุมากแล้วขึ้นลงลำบาก บ้านก็เก่าผุพังหลายส่วน จึงต้องอยู่แบบนี้มานานเป็นสิบปี บางครั้งก็นอนในรถเปิดกระจกระบายอากาศเอาด้าน

นางทองล้วน สิงห์มี อายุ 56 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ เปิดเผยว่า ตนเห็นฤๅษีจำลองดูแลมารดาแบบนี้มานานมากแล้ว ซึ่งนางโหลยก็ป่วຍมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันและโรคไขมัน จะอยู่กันสองคนแม่ลูกแบบนี้ ส่วนญาติ ๆ ก็อยู่บ้านข้างเคียง

ทุกวันฤๅษีจำลองจะคอยหาข้าวหาปลาให้มารดากิน เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ อาบน้ำล้างหน้าให้ จะไปไหนก็จะเอาแม่ไปด้วย ซึ่งน่าชื่นชมเป็นอย่างมากที่มีความกตัญญูรู้คุณกับบุพการี

ส่วน นายสุเมธ ทองเชื้อ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 บ้านดงพลวง กล่าวว่า เรื่องที่ฤๅษีจำลองพร้อมกับมารดาได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยนั้น ตนทราบเรื่องแล้ว กำลังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาฤๅษีจำลองกับมารดามักไม่ค่อยอยู่บ้าน จะตระเวนไปทั่วเพื่อปฏิบัติธรรม

โดยเพิ่งจะกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นานมานี้ ที่ผ่านมาก็เคยเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติลมพายุพัดหลังคาบ้านพัง ทาง อบต.วังพิกุล ก็ส่งช่างเข้ามาซ่อมแซมแก้ไขให้แล้วเสร็จทั้งนี้ก็ต้องดูว่าจะจัดสรรงบใดมาช่วยเหลือได้อีกบ้าง เพราะผู้ที่เดือดร้อนในพื้นที่ก็ยังมีอีกหลายรายที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จิตใจกุศลที่อยากจะทำบุญช่วยเหลือ สองแม่ลูกผู้ปฏิบัติธรรม สามารถโอนเงินช่วยเหลือได้ทางธนาคารออมสิน สาขาวังทอง บัญชีเลขที่ 020328091812 ชื่อบัญชี นางโหลย กำมะณี หรือนางเรียน อ้นอิน

แหล่งที่มา: thairath

เรียบเรียงโดย ยิ้มสยาม

Leave a Reply

Your email address will not be published.