“ลุงตี๋” วัย 36 ปี อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ถนน ไร้ยศไร้ตำแหน่ง ไม่มีค่าตอบแทนแม้แต่บาทเดียว


เปิดเรื่อราวของคณลุง ท่ามกลางฝุ่นและควันจากท่อของรถบนท้องถนน ชายวัย 61 ปี กำลังทำหน้าที่โบกรถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนบนเส้นทางจราจรอย่างแข็งขัน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ที่สำคัญการเสียสละอุทิศเวลาและร่างกายเพื่อเผชิญฝุ่นควันเหล่านี้ ไม่ได้รับค่าตอบแทนแม้แต่บาทเดียว

“ลุงตๅยไปถือว่าทำดีที่สุดแล้ว” เปิดใจ “ลุงตี๋” อดีตพนักงาน ขสมก. 36 ปี กับงาน “อาสาจราจร” ไม่มียศ ไม่มีตำแหน่งแต่ ทำด้วยใจ ไม่สน แม้โดนคนดูถูกหาว่า “บ้า” พร้อมอุทิศตัวเอง เฝ้าสะสมทำความดีเพื่อสังคมต่อไป ตราบใดที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร

ลุงตี๋-จำรัส แซ่ลิ้ม อดีตกระเป๋ารถเมล์ ขสมก. ที่อุทิศตนในการเป็นจราจรจิตอาสามายาวนานถึง 36 ปี ในวันนี้เขาใช้ชีวิตที่ดูแตกต่างกับผู้สูงอายุทั่วไป ที่เมื่อยามปดเกษียณคงใช้เวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมที่ตนเองพอใจ แต่สำหรับลุงตี๋เลือกที่จะเป็นจิตอาสาจราจร เสียสละ อุทิศเวลาไปบริการประชาชนในย่านรังสิต และบริเวณทั่ว ๆ ไปในกรุงเทพฯที่มีงานสำคัญ ๆ อีกด้วย

“ทำงานเป็นกระเป๋ารถเมล์ตั้งแต่อายุ 18 ปี ทำอาชีพนี้มา 42 ปี และเป็นอาสาจราจรมา 36 ปี ทำครั้งแรกคือโบกรถป้ายดอนเมือง เมื่อก่อนก็ทำตอนเลิกงานจากการเป็นกระเป๋ารถเมล์ หรือมาโบกตอนเช้าหรือในวันหยุด หรือวันไหนที่เป็นเวรครึ่งวันก็มาทำหน้าที่โบก บางทีออกจากซอยมา รถถอยเข้าถอยออกจากซอยไม่ได้เราก็ช่วยโบก บางทีจูงคนแก่คนท้องข้ามถนนในซอยหมู่บ้านก็มี”

จากการทำอาชีพกระเป๋ารถเมล์มายาวนานถึง 46 ปี ทำให้ลุงตี๋เล็งเห็นถึงความลำบากของผู้คนจากการจราจรที่ติดขัด จึงถือโอกาสใช้เวลาว่างจากการทำงานปกติมาโบกรถ

“เริ่มต้นที่แรกเป็นที่หน้าท่าอากาศยานดอนเมือง ฝั่งวัดดอนเมือง คือตอนนั้นสนามบินดอนเมืองยังไม่มี ยังไม่ได้ย้ายไปอยู่สุวรรณภูมิ ชาวต่างชาติมาเราก็เทกแคร์ การเป็นกระเป๋ารถเราก็ต้องเทกแคร์ต่างชาติ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่ง พูดภาษาอังกฤษอย่างเดียว ความจริงภาษาอังกฤษเราไม่ได้เรียนหรอก แต่ก็พูดกับเขาได้ เราก็เทกแคร์ต้อนรับ การบริการว่าจะขึ้นรถไปไหน

เป็นการ แนะนำเส้นทาง ส่วนมากก็จะไปลงบางลำพู อย่างเช่นว่าจะไป ถนนข้าวสาร พอรถเราถึงป้ายก็จะเห็นว่าฝรั่งมาเยอะเราก็ทักทาย “Hello where are you going” เขาก็จะบอกเราว่าไปข้าวสาร เราก็บอกว่า “come here bus I go” “bus number fifty-nine go Khao San Road” ผมอยู่ประจำสาย 59 ไง เราก็ช่วยเขายกของยกกระเป๋า มีลูกเล็กเด็กแดงมาจากเมืองนอกเราก็ช่วยเขา”

แม้จะมีคนตั้งคำถามหรือสงสัยว่าทำไปทำไม แต่ความสุขของลุงตี๋คือการได้ช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อจะให้คนชื่นชม แต่ทำด้วยเพราะใจรักล้วน ๆ

“ที่ทำก็เพราะใจรัก ใจชอบ ทำด้วยใจ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อสร้างภาพ ความสุขคือการได้ช่วยเหลือสังคม มีคนมาถามว่าทำไมถึงมาทำแบบนี้ ผมก็แค่บอกว่ามาช่วยไม่ให้รถติดแค่นั้นเอง ก็มีคนมาพูดว่าเป็นตำรวจปลอมเหรอ ทำไมแต่งตัวคล้ายตำรวจจังแบบนี้ก็มี

ส่วนเรื่องมีคนว่าเราเพี้ยนก็มี บางคนบอกว่าไอ้นี่ตำรวจปลอม ไอ้นี่อยู่ที่โรงพักไหน ผมก็ตอบกลับไปแค่ว่าครับ ผมตำรวจปลอม เราไม่ต้องไปทำเป็นว่าเป็นตำรวจแล้วจะต้องขอเงินคนอื่นไม่ใช่แบบนั้น น้ำใจเขาที่มีให้เดี๋ยวเขาจะยื่นให้เอง เขาให้ผมก็รับแต่ไม่ใช่ว่าไปยืนแบมือขอเขา เพราะตอนนี้รายได้ของผมคือมาจากการเก็บขยะขๅย”

ทุ่มสุดตัว เหนื่อยกายแต่สุขใจ ไม่สนคำดูถูก

บางคนบอกว่า “เพี้ยน” บางคนบอกว่า “บ้ า” แต่หากได้รู้จักตัวตนความคิดของชายวัยเกษียณที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยความเสียสละเพื่อสังคมขนาดนี้ จะทำให้ความคิดนั้นเปลี่ยนไป

“ก็มีครับที่คนหาว่าบ้า เราก็ไม่ได้สนใจอะไร มีคนทักว่าเอาชุดตำรวจมาใส่ไม่ผิดระเบียบเหรอ แต่ผมก็ไม่ได้อะไร ผมทำมานาน 36 ปีแล้ว ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่ได้มีเจตนารีดไถใคร ไม่ได้สร้างภาพพจน์ให้เขาเสียหาย มีแต่ช่วยงาน

ชุดตำรวจที่ใส่เวลาไปโบกรถได้มาจาก สน.วิภาวดี ตำรวจบางคนให้เสื้อ บางคนให้กางเกง บางคนให้หมวก รองเท้า บางทีเสื้อใกล้ขาดเขาให้มาเราก็รับไว้แล้วเอามาปะเอง ตอนแรกมีแค่เสื้อสะท้อนแสงนะยังไม่มีชุดตำรวจ เพราะเขาเห็นว่าโบกรถไม่มีเสื้อสะท้อนแสงอันตราย เขาห่วงเรื่องความปลoดภัย”

หนึ่งในเสียงสะท้อนอย่าง ธีรวุฒ กลิ่นกุสุม นายกเทศบาลรังสิต ผู้ที่ค้นเคยและเห็นชายอาสาคนนี้จนชินตาในการปฏิบัติหน้าที่แทบไม่ขาดตกบกพร่อง

“ลุงทำงานเกี่ยวกับเรื่องอาสาสมัครมาก่อนหน้านี้เยอะ ตั้งแต่ยังไม่เกษียณจนเกษียณอายุมีอุบัติเหตุ แกก็ไปช่วยในเรื่องการบริการด้านจราจรมีไฟไหม้ ก็ไปช่วยดูแลให้ แล้วก็ถ่ายทอดข้อมูลให้ อันนี้เป็นสิ่งที่ดี แล้วก็ใช้เวลาว่างจากการทำงานมาทำจนเกษียณก็ยังทำอยู่ ก็จะเห็นลุงปั่นจักรยานไปทั่ว ตรงไหนที่มีอุบัติเหตุ ตรงไหนที่มีจราจรติดขัดท่านก็จะไปช่วยดำเนินการ

การแต่งการที่คล้ายตำรวจของคุณลุง ตามจริงที่อื่นอาจจะมีปัญหาแต่ว่าลุงแกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้ว ทุกคนรู้จัก รู้เลยว่าลุงปั่นจักรยานคนนี้เป็นใคร ทุกคนให้การยอมรับในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะคุณลุงก็ไม่เคยละเมิดใคร แทบจะไม่เคยได้ยินข่าวว่าท่านไปทะเลาะกับใคร

ทุกคนก็จะเห็น ก็จะรู้จักว่าท่านให้บริการด้านนี้มาโดยตลอด อีกอย่างการแต่งกายแบบนี้ก็จะทำให้เกิดความปลoดภัยในตัวท่านเองนะ ใส่เสื้อคล้ายตำรวจ ใส่เสื้อสะท้อนแสง”

ตลอดระยะเวลา 36 ปี ที่ชายชราวัยเกษียณคนนี้ได้อุทิศตนทำประโยชน์เพื่อสังคมจนเป็นที่ประจักษ์ทั้งยังเป็นตนแบบอย่างของบุคคลที่มีน้ำใจ ที่หลายคนรู้จักและยอมรับในชุมชน อีกหนึ่งเสียง อย่าง เอกภพ เจษฏากุล ณ อยุธยา อดีตพนักงาน ขสมก. ชื่นชมชายอาสาที่มุ่งมั่นเสียสละเวลา บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สาธารณะด้วยการอำนวยจราจรบนท้อง

ผมมองว่าดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เอาจริง ๆ คือใครจะว่าแกยังไงแต่แกก็เป็นตัวตนของแกเอง แกไม่สนไม่ว่าใครจะว่าแกยังไง แกไม่สนว่ากระแสตอบรับจะออกมาเป็นยังไง แกมีความสุขในสิ่งที่แกทำ ผมคิดว่าดีกับหลาย ๆ คนที่คิดแต่ไม่ได้ทำ แต่แกคิดแล้วแกทำ แกช่วยเหลือสังคม คนแถวนี้มองแกไม่ได้มองแกว่าเป็นคนสติไม่ดีนะ มองแกว่าเป็นแกเอง เพราะเห็นจนเป็นภาพชินตาไปแล้ว

เวลาที่แกอยู่บนรถแกก็จะบอกกับผู้โดยสารว่าก่อนจะลงต้องกดกริ่งนะ ต้องจับราวนะ แกจะเขียนบอกทุกอย่าง สโมทอกที่ใส่หูอยู่ให้นำออกจากหูหนึ่งข้างเพื่อจะลงรถเมล์ แกเป็นคนเหมือนมองโลกเป็น บางคนก็มองแกบ้า แต่จริง ๆ ไม่บ้า บอกตรง ๆ ว่าเงินเดือนคนปกติสู้แกไม่ได้นะครับ แกรับเงินเดือนของสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจ”

ตลาดรังสิต บริเวณหน้าหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ก็จะเป็นสถานที่ชายอาสามาปฏิบัติหน้าที่เป็นจราจรอาสา คนแถวนี้ก็จะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ที่มีชายสูงอายุมาโบกไม้โบกมืออยู่เป็นประจำ และนี่เป็นอีกหนึ่งเสียงที่กล่าวชื่นชมในการทำเพื่อสังคม

“รู้จักลุงแกนานแล้วค่ะ แกเป็นจิตอาสา แกรักงานตรงนี้ แต่ก่อนแกก็เป็นกระเป๋ารถเมล์ทำงาน ขสมก. แกก็มาโบกรถช่วยเรียกรถ เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี พอเลิกงานแกก็จะขี่จักรยานไปเรื่อย แต่ก่อนแกจะไปยืนโบกอยู่ดอนเมือง ก็มีคนบอกนะคะว่าบ้ าหรือเปล่า

ดีใจนะคะที่มีคนแบบนี้ ทำแบบนี้ อย่างตัวเราก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะได้ทำความดีแบบนี้ให้กับสังคม เวลาแกมาทานข้าวก็จะให้ทานฟรีไม่คิดตังค์ คนแถวนั้นจะไม่ค่อยคิดตังค์กับแกค่ะ”

อาสา 36 ปี กับรางวัลความดีที่ภาคภูมิใจ

นับเป็นอีกหนึ่งคนที่ทำคุณประโยชน์ให้สังคมอย่างน่ายกย่อง ผลตอบแทนที่ชายอาสาสมัครคนนี้ได้รับก็ได้ประจักษ์แก่สายตาสังคมแล้วว่า นั่นคือความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ ทำให้การฝ้าสะสมทำความดีไม่สูญเปล่า

“มีรางวัลที่ผมภาคภูมิใจคือได้ข้าเฝ้ารับโล่รางวัลจากองค์โสมฯ จากการเป็นอาสาจราจร รู้สึกภูมิใจมากครับในแง่ของจิตใจผมก็มีความสุข และสบายใจที่ได้ช่วยประชาชนทั้งประเทศ ก็มีบางคนเอาของมาให้ ซื้อข้าวให้กิน ซื้อน้ำให้กิน มีการหยิบยื่นให้บ้าง อันนี้ไว้ซื้อน้ำ ซื้อกาแฟ ไว้ซื้อข้าวกิน”

ปัจจุบันลุงตี๋ได้เกษียณอายุจากการเป็นพนักงาน ขสมก.ก็ทำให้แต่ละวันมีเวลาที่จะทำงานอาสาจราจรมากขึ้น และนอกเหนือจากงานอาสาแล้ว ชีวิตในตอนนี้คือทำเก็บขยะขๅยเพื่อได้เงินมากินข้าว

“ทุกวันนี้ก็เก็บกระดาษขๅยแล้วก็โบกรถ แค่นั้นแหละ มีกล่องกระดาษ แก้วพลาสติก ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ขวดเบียร์ ก็มีแยกมาเป็นถุง ๆ ครับ ถ้าเราขยันตอนกลางคืนถ้ามีของบางที ก็ตามร้านค้า ตามข้างถนนหลังโบกรถเสร็จก็ไปเก็บมาไว้

ของพวกนี้เก็บไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนตามถังขยะครับ เลิกจากการโบกรถ พอถนนโล่งแล้วเราก็ไปเก็บคัดของคัดกระดาษที่เขาทิ้ง เราก็เก็บไปขๅยตามร้านขๅยของเก่า แต่ถ้าว่าเจอรถติดระหว่างทางเราก็ต้องจอดโบกสักหน่อยรายได้แต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน เยอะสุดก็ร้อยกว่าบาท ก็ดีใจแล้ว

บางทีก็ 25 บาท 60 บาท ก็เงินบริสุทธิ์เนอะ เราไม่ได้ลักเล็กขโมยใคร สิ่งเหล่านี้แหละคือเจ้านายเรา เป็นตำรวจไม่มีเงินเดือน เพราะว่าเป็นตำรวจปลอม ส่วนวันนี้เก็บมาสองวันก็ได้ 86 บาทก็ได้ค่าข้าวค่าน้ำหน่อยหนึ่ง บางทีเก็บสะสมไว้นานถึง 3 อาทิตย์ค่อยได้ขๅย

เลือกเก็บขยะเพราะมันได้เงิน และเป็นเงินบริสุทธิ์ด้วย เพราะว่าเราไม่มีรายได้ เราขๅยได้ 20 กว่าบาท 70 กว่าบาทเราก็ดีใจแล้ว เก็บมาแล้วก็จะไปขๅยเลยไม่ได้นะ ต้องไปแยกของคัดของอีก สกปรกยังไงก็ต้องทำ”

เชื่อเหลือเกินว่าเรื่องราวของชายอาสาคนนี้ที่มุ่งมั่น เสียสละเวลา บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ อำนวยความสะดวกจราจรบนท้องถนนมายาวนานถึง 36 ปี ที่ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียวหากนับถึงช่วงเวลาของชีวิตมนุษย์ที่เฉลี่ยอายุไข 80 ปี น่าจะเป็นแบบอย่างให้ทุกคนได้หันมาสนใจทำงานด้านจิตอาสากันมากยิ่งขึ้น

“คิดแค่ว่าลุงตๅยไปลุงได้ทำดีที่สุดแล้ว แค่นั้นเอง ในใจลุงก็มีความสุข ไม่ได้คิดอะไรแล้ว เพราะลูกผมก็ตๅยไป คนหนึ่งแล้ว หลานผมก็ไม่มี มีแต่ลูกของน้องสาว”

แหล่งที่มา: mgronline /ฅนจริงใจไม่ท้อ

เรียบเรียงโดย ยิ้มสยาม

Leave a Reply

Your email address will not be published.